การประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(Local Performance Assessment: LPA)
ด้านที่ 1 การบริหารจัดการ
ด้านที่ 1 การบริหารจัดการ2
หมวด 1 การวางแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
1.1 ความสามารถในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
1) หนังสือที่เสนอ ผวจ.กรณีมีการขยายเวลา การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
2) ประกาศของ อปท.เรื่องการประกาศใช้แผน พัฒนาสามปี
1.2 การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น สี่ปี (พ.ศ.2561-2564)
1) คำสั่งหรือประกาศผู้รับผิดชอบจัดทำประชาคมท้องถิ่น
2) ประกาศสัดส่วนประชาคมท้องถิ่น เพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นปัจจุบัน
3) รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
4) บัญชีโครงการพัฒนา (แบบ ผ.01 ผ.02 ผ.03 ผ.04 ผ.05 ผ.06 ผ.07 และ ผ.08 แล้วแต่กรณี)
5) รายงานการประชุมประชาคมท้องถิ่น ที่จัดทำ หรือทบทวน หรือเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
1.3 อปท.ได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
1) สำเนาหนังสือเชิญประชุมหรือเอกสารการประชาสัม-พันธ์ฯ ที่มีการเผยแพร่อย่างหลากหลายและทั่วถึง
2) สำเนารายงานการประชุมประชาคมท้องถิ่น ในระดับชุมชน/หมู่บ้าน/อำเภอ ในการรับทราบปัญหาความต้องการของประชาชนหรือสำเนารายงานการประชุมในการส่งเสริมกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
3) สำเนารายงานการประชุมประชาคมท้องถิ่น ในระดับตำบล/ชุมชนตำบล/ชุมชนเมือง/ชุมชนนคร/จังหวัด หรือท้องถิ่น หรือการประชุมคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นหรือคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี ที่มีการนำปัญหาความต้องการ/ข้อเสนอแนะจากการประชุมประชาคมท้องถิ่นมาวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญ
1.4 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) เอกสารประกอบแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค ได้แก่ ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับยุทธศาสตร์การพัฒนา ของอปท. (แบบ ยท. 01) แผนผังยุทธศาสตร์ (Strategic map) (แบบ ยท. 02) รายละเอียดยุทธศาสตร์ (แบบ ยท. 03)
2) เอกสารประกอบแสดงให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ของ อปท. ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ จุดยืนทางยุทธศาสตร์
1.5 อปท.นำโครงการพัฒนาในแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 – 2564) มาดำเนินการตามแผนฯ โดยใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี/เพิ่มเติม หรือเงินนอกงบประมาณ(เฉพาะโครงการที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ปี 2561)
1) เอกสาร/หลักฐานที่แสดงว่า อปท.ได้รับงบประมาณจากภาครัฐหรืออื่นๆ
2) เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงโครงการพัฒนาที่ได้ดำเนินการจริงที่ใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือเงินนอกงบประมาณ
1.6 การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) (Local Sufficiency Economy Plan : LSEP)
1) มีการจัดทำแผน LSEP ในส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน ของแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561 – 2564)
2) แบบสำรวจ/ฐานข้อมูล
3) หนังสือประสานหรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4) เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงโครงการพัฒนาที่ได้ดำเนินการจริง
5) ดำเนินการตามหนังสือ สถ. ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.3/ว 2172 ลว. 19 ต.ค. 2559 เรื่อง การสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) (Local Suffciciency Economy Plan : LSEP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
1.7 แนวทางการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
1) สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการติดตามฯ หนังสือวาระการประชุมแจ้งคณะกรรมการฯ
2) สำเนารายงานการประชุมที่แสดงให้เห็นถึงการกำหนดแนวทาง วิธีการในการติดตาม และประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล/ระเบียบ วิธีในการติดตามและประเมินผล/กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล
3) สำเนารายงานการประชุมที่แสดงกระบวนการหรือขั้นตอนการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
4) สำเนารายงานผลและเสนอความเห็น ซึ่งได้จากการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อผู้บริหารท้องถิ่น
5) หนังสือที่แสดงให้เห็นถึงผู้บริหารท้องถิ่นรายงานผลและเสนอความเห็นซึ่งได้จากการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นเสนอต่อสภาท้องถิ่น
6) สำเนารายงานการประชุมสภาท้องถิ่นและเสนอความเห็นซึ่งได้จากการประชุมสภาท้องถิ่น ในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
7) สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และเสนอความเห็นซึ่งได้จากการประชุมคณะกรรมการฯ ในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
8) สำเนาประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบ ในที่เปิดเผย
1.8 การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นในระบบ e-plan
1) หลักฐานการบันทึกผลการติดตามในระบบ e-plan
2) รายงานการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมิน ผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
3) รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
4) รายงานการประชุมสภาท้องถิ่นและคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
1.9 องค์การบริหารส่วนจังหวัด นำโครงการพัฒนาในแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) ที่ได้ผ่านกระบวนการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ/ระดับจังหวัด มาดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี/เพิ่มเติม หรือเงินนอกงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
1) ตรวจสอบรายละเอียดโครงการพัฒนาแผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561-2564) สำหรับประสานโครงการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (แบบ ผ.03)
2) ตรวจสอบรายละเอียดโครงการพัฒนา แผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561-2564) สำหรับประสานโครงการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ (แบบ ผ.03/1)
3) ตรวจสอบจำนวนโครงการพัฒนาในแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (ผ.04 หรือ แบบ ผ. อื่น ๆ ของ อบจ.) นำมาเทียบเคียงกับโครงการที่ปรากฏในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย/เงินนอกงบประมาณคิดเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนโครงการพัฒนาที่กำหนดไว้ในแผน พัฒนาท้องถิ่นสี่ปี เฉพาะ ปี 2561
4) เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงโครงการพัฒนาที่ได้ดำเนินการจริง
หมวด 2 การจัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญ
หมวด 2 การจัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญ
2.1 อปท.บันทึกข้อมูลตามฐานข้อมูลที่สำคัญตามกรอบระยะเวลา
1) มีการบันทึกข้อมูลตามฐานข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ทุกระบบ ตามแนวทางที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด
2) การบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มฝ. 1 , มฝ. 2)
3) ระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (info)
4) ให้ใช้ข้อมูล ณ วันที่คณะกรรมการเข้าตรวจ
หมวด 3 การจัดการข้อร้องเรียน
3.1 ร้อยละของข้อร้องเรียนต่อ อปท.ที่ดำเนินการสำเร็จลุล่วง
1) มีการมอบหมายหน่วยงาน/จนท.รับผิดชอบของหน่วยงาน
2) คำสั่งแต่งตั้งจนท.รับผิดชอบ
3) ทะเบียนรับเรื่องร้องเรียน
4) หลักฐานการรายงานผลให้ทราบภายใน 15 วัน
3.2 ร้อยละของข้อร้องเรียนที่มาจากศูนย์ดำรงธรรม ที่ดำเนินการสำเร็จลุล่วง
1) การดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนสำเร็จลุล่วง หมายถึง มีการจัดทำบัญชีรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียนฯ และดำเนินการแก้ไขปัญหา หรือแจ้งผลความคืบหน้าให้ประชาชนทราบภายใน 15 วัน
2) พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546ฃ
3) ข้อมูลศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ หรือจังหวัด
หมวด 4 การบริการของประชาชน
4.1 การอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน
1) แบบคำร้อง คำสั่งให้เจ้าหน้าที่บริการล่วงเวลา/พักเที่ยง หรือวันหยุดราชการ หลักฐานการใช้บริการในช่วงเวลาดังกล่าว การจัดสถานที่ หรือสิ่งอำนวยความสะดวก
2) การจัดสถานที่ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือคนชราดังต่อไปนี้
– มีเก้าอี้รับรองประชาชนผู้รับบริการ
– มีป้าย/สัญลักษณ์บอกทิศทางหรือตำแหน่งในการเข้าถึงจุดให้บริการได้อย่างสะดวก และชัดเจน รวมทั้งที่ตั้งของจุดให้บริการ
– มีแผนผังกำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละขั้นตอนและช่องทางติดต่อ
– มีแบบคำร้องพร้อมทั้งตัวอย่างการกรอกข้อมูล
– มีการให้บริการนอกเวลาราชการ หรือตามเวลาที่สอดคล้องกับผลสำรวจความต้องการของผู้รับบริการในพื้นที่ (มีบริการล่วงเวลา/พักเที่ยง หรือวันหยุดราชการ)
– มีการออกแบบสถานที่คำนึงถึงผู้พิการ สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ
– ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ wifi
– มีจุดบริการน้ำดื่มสะอาดเพื่อบริการประชาชน
– มีห้องน้ำที่สะอาดและถูกสุขลักษณะรองรับบริการประชาชนอย่างเพียงพอ
– มีระบบการขนส่งที่เข้าถึงสถานที่บริการเพื่อสะดวกต่อการเดินทาง
– มีการออกแบบผังงานและระบบการให้บริการระหว่าง “จุดก่อนเข้าสู่บริการ” และ “จุดให้บริการ” ที่อำนวยความสะดวกทั้งสำหรับเจ้าหน้าที่และประชาชน
– มีขนาดและพื้นที่ใช้งานสะดวกต่อการเอื้อมจับ
– ในจุดที่สำคัญหรืออันตรายมีการออกแบบหรือให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนตามหลักสากลทั้งขณะยืนหรือรถล้อเลื่อน
– มีการจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ
– มีการจัดให้มีระบบคิวเพื่อให้บริการได้อย่างเป็นธรรม
– มีจุดแลกรับในการช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น คัดกรองผู้ให้บริการ ให้คำแนะนำในการขอรับบริการหรือช่วยเตรียมเอกสาร
– มีจุดประเมินผลความพึงพอใจ ณ จุดให้บริการในรูปแบบที่ง่ายและสะดวกต่อผู้ให้บริการ
3) ตรวจสอบสัญญาณ wifi ของ อปท. การจัดมุมอินเตอร์เน็ต
4) เอกสารประเมินความพึงพอใจ ฯลฯ
4.2 ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูล หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ อปท.
1) เอกสารแต่งตั้งมอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจสอบช่องทางการสื่อสารกับประชาชน ได้แก่
– การจัดตั้งศูนย์บริการร่วม
– กล่อง/ตู้รับฟังความคิดเห็น อย่างน้อย 3 จุด ในพื้นที่ของ อปท. ที่ไม่ซ้ำกับจุดที่ตั้ง (ชุมชน/หมู่บ้าน)
– ตู้ ปณ.ของ อปท.
– การประชุมรับฟังความคิดเห็น
– การสัมภาษณ์รายบุคคล
– การให้บริการช่องทางอื่น ๆ เช่น เว็บไซต์
– Line
– โทรศัพท์
– โทรศัพท์สายด่วน
4.3 การประเมินความพึงพอใจของประชาชน ณ จุดบริการ
1) ตรวจสอบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
– หลักฐานแบบประเมินความพึงพอใจ
– รายงานผลการประเมินความพึงพอใจ
– การประเมิน ณ จุดบริการ